Burnout ไม่อยากทำงาน ทำยังไงดี?

Burnout ไม่อยากทำงาน ทำยังไงดี?

วันนี้อนัญญาจะมาขอเล่าประสบการณ์รับมือการ Burnout และเอาตัวเองกลับคืนมา

เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะมีประสบการณ์ Burnout หรือยังไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลัง Burnout รึเปล่า พลอยหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจตัวเองมากขึ้น และหลุดพ้นจากความรู้สึกแย่ๆที่กำลังมีอยู่กันนะ

*หมายเหตุ : อันนี้เป็นแค่ประสบการณ์และวิธีการของพลอยเท่านั้น วิธีการนี้อาจจะไม่ได้เวิร์คกับทุกคน ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเน้อ*


ขอแบ่งเนื้อหาออกมาเป็น 5 ส่วน เพื่อให้ง่ายแต่การอ่าน

  1. ช่วงสับสนว่าตัวเองเป็นอะไร (re-check ว่า burnout จริงไหม?)
  2. ช่วงปล่อยจอย ทำตามใจตัวเอง (ลองแก้ปัญหาแบบที่ 1)
  3. ช่วงตกผลึกปัญหา และหาแนวทางแก้ไข (รวมสาเหตุที่สามารถทำให้เกิด burnout ได้)
  4. ช่วงทดลอง
  5. บทสรุปและการกลับมา

เฟส 1 เกิดอะไรขึ้นกับกุวะ?

เหตุเริ่มเกิดตั้งแต่ช่วงกลางๆปลายๆปี 23 ใครที่รู้จักพลอยก็จะรู้ว่าเป็นเด็กที่มี energy เยอะมาก ทำงานมา 10 ปีไม่เคยมีช่วงว่างงานในชีวิต รักการทำงานที่สุดในชีวิตจิตใจ

ช่วงกลางปี 23 อยู่ดีๆ พลอยก็เริ่มรู้สึกเหนื่อย งานที่เคยสนุก อยู่ดีๆ มันก็รู้สึกไม่สนุก เริ่มไม่อยากตื่นมาทำงาน อยากนอนต่อ จากที่ตื่นเต้นกับความรู้อะไรใหม่ๆ อยู่ดีๆก็เริ่มไม่อยากอ่าน ไม่อยากทดลองอะไรใหม่ แต่กลับรู้สึกอยากพัก

ตอนแรกก็คิดว่าเหนื่อยมั้งพักซักสัปดาห์คงหาย แต่ผ่านไป 2 สัปดาห์แล้วก็ยังไม่มีความรู้สึกอยากทำงาน หรืออยากทำตัว productive ซึ่งไม่รู้คนอื่นว่าแปลกไหม

แต่บอกเลยว่าพลอยรู้สึกว่ามันแปลกมาก

เสียงในหัวตอนนั้นคือแบบนี้เลย “กูเป็นอะไรวะ? เกิดอะไรขึ้นกับกูวะ?”

อย่างแรกที่พลอยต้องทำ คือทำความเข้าใจก่อนว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาจริงๆรึเปล่า?

เลยเริ่มจากวิเคราะห์อาการตัวเองว่าเรามีอาการอะไรบ้าง ทำไมเราถึงรู้สึกว่ามันแปลกๆ

วิเคราะห์อาการตัวเอง

  • นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ ต่อให้นอนเยอะก็รู้สึกไม่มีแรง
  • ความตื่นเต้นกับงานทั้งหมดหายไป ไม่อยากทำงานไหนเป็นพิเศษ ไม่รู้สึกตื่นเต้นกับงานหรือไอเดียใหม่ๆ
  • รู้สึกการทำงานเป็นเรื่องเหนื่อยล้า งานที่ชอบอยู่ดีๆก็ไม่อินไปเฉยๆ
  • ไม่อยากเรียนรู้อะไรใหม่ 
  • งานที่ทำอยู่ก็ deliver ได้คุณภาพดีปกติ ตอนที่ทำก็ตั้งใจทำดี แต่พอทำจบแล้วไม่คิดจะทำอะไรต่อและไม่ได้อยากสานต่อไอเดียอะไรใหม่ๆ

สรุปที่เห็นชัดๆเลย คือ Energy ตัวเองดรอปแบบมีนัยยะสำคัญเลย

มันก็ไม่น่าจะเป็นอะไรถ้าเกิดพลอยไม่รู้สึกแย่กับตัวเองมากๆ ว่าทำไมตัวเองเป็นแบบนี้ อยากจะกลับมามี energy เท่าเดิม ไม่เข้าใจว่าสาเหตุคืออะไร (เอาจริงๆไม่ได้ทำงานหนักขนาดนั้น เมื่อก่อนทำหนักกว่านี้ยังไม่เป็นขนาดนี้)

หลังจากที่ลองเล่าๆให้คนรอบตัวฟัง ก็ได้คำนิยามใหม่ ว่าเราอาจจะแค่เป็น

"Toxic Productivity" แบบจริงๆแล้วเราไม่ได้เป็นอะไรเลย

แต่แค่เสพติดความ productive พอทำงานน้อยลงก็เลยรู้สึกผิด ซึ่งจริงๆแล้วเราไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดกับตัวเอง แต่ควรเปิดให้ตัวเองได้พักดูบ้าง

ก็เลยดำเนินมาสู่เฟสที่ 2


เฟส 2 อนญปล่อยชิว

เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ที่พลอยสามารถนอนอยู่เฉยๆได้ทั้งวัน

ด้วยคำแนะนำจากคนอื่นคือให้ลอง "พัก" ดูบ้าง

ก็พักมันจริงจังเลยละกัน เล่นมือถือ อ่านการ์ตูน ดูซีรีย์ทั้งวัน ทำตัวขี้เกียจติดๆกันโดยที่ไม่รู้สึกผิดอีกต่อไป กลายเป็นว่าดูซีรีย์ถึงตี 3 ตื่น 10 โมง

อาจจะดูเหมือนเรื่องปกติสำหรับคนอื่น แต่ไม่ปกติสำหรับพลอยเลยในการที่ปล่อยให้ตัวเองใช้ชีวิตชิวแบบนั้น

เป็นหนึ่งในช่วงชีวิตที่เจอคนเยอะมาก ใครชวนไปไหนไปหมด

จากปกติเป็นคนชวนโคตรยากตารางแน่นยาวๆ อยู่ดีๆก็ไปทุกกิจกรรมกับทุกกลุ่มไม่สนว่าสนิทหรือไม่สนิท

กลายเป็นว่าปล่อยชิวไปเรื่อยๆ ไม่ได้ช่วยเรื่องอาการ burnoutเลยซักนิด รู้สึกสนุกสนานก็จริง แต่ไม่ได้ทำให้พลอยรู้สึกมี energy กลับมาทำงานเลยแม้แต่น้อย

(พลอยอยู่ในเฟสนี้ยาวเกือบ 2 เดือนเลย)


เฟส 3 พยายามทำความเข้าใจ

เพราะว่าพักแบบเต็มที่มากและไม่หาย เลยรู้แระว่าการพักเฉยๆอาจจะไม่ใช่วิธีที่เหมาะกับเรามากนักเท่าไหร่

หนำซ้ำ ยังเกิดปัญหาใหม่เพราะขี้เกียจจนเป็น Habit!

Negative Domino Effect

ไม่อยากทำอะไร -> นอนเล่นมือถือ -> รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไร -> รู้สึกไม่ดีและอยากพัก -> วนกลับมาใหม่

สิ่งที่พลอยทำในช่วงนั้นก็เลยเริ่ม research จริงจังเกี่ยวกับเรื่องการ burnout กลับมาตกผลึกตัวเองมากขึ้น หาฟัง content เกี่ยวกับ burnout

ค้นพบว่า Burnout เกิดได้จากหลายอย่าง

  1. Environment บรรยากาศและคนรอบๆตัว
  2. Situation
  3. Physical ร่างกายไม่พร้อม เค้าบอกว่าคนที่สารอาหารไม่เพียงพอก็ทำให้เกิด derpression หรือ burnout ได้ เป็นที่ร่างกายไม่แข็งแรง
  4. Mental

คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าการ Burnout มักเกิดจากกาารที่เราทำงานหนักเกินไป

แต่จริงๆแล้วตรงกันข้ามเลย มันเกิดจากการได้รับ

ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เราทำลงไป

เช่น เราทำงานหนัก แต่เราให้คุณค่าเรื่อง appreciation. พอทำงานหนักๆไป แล้วมีคนเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ เราก็รู้สึกดีอยากทำต่อ อยากทำงานเยอะๆ ไม่ได้รู้สึกเหน็ดเหนื่อย

ในขณะเดียวกัน ถ้าเราทำงานหนักๆ แต่งานที่เราทำไม่มีใครให้คุณค่าเลย ต่อให้ได้เงินเยอะ การที่เราไม่ได้รับผลตอบแทนในสิ่งที่เรา Value เทียบกับแรงที่เราลงไปแล้ว ก็จะทำให้เราค่อยๆ Burnout ไปช้าๆ และรู้สึกเหนื่อยหนายกับงานไปในที่สุด

ปล. เพื่อนที่มาปรึกษาเงินเดือนเยอะมาก ทำงานเก่งมาก แต่งานที่เสนอโดนปัดตกบ่อยๆ จนนางรู้สึก burnout ไปเลย

เพราะฉะนั้นวิธีแก้ Burnout อาจจะไม่ใช่การทำงานที่น้อยลงเสมอไป

  1. หา Value ของเราให้เจอ อะไรคือผลตอบแทนที่เราต้องการ
  2. ตอบให้ได้ว่าอะไรที่เราทำอยู่แล้วรู้สึกไม่โอเค ทำให้รู้สึกไม่คุ้มค่าแรงหรือเวลาที่เราเสียไป

มีหนังสือสามเล่มที่ได้อ่านในช่วงนั้น แล้วรู้สึกว่ามันเป็นหนังสือที่ดี ที่คน Burnout อ่านแล้วน่าจะทำให้ตกผลึกอะไรได้

นายอินทร์ หนังสือ ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ | Shopee Thailand
เราสำรวจปรัชญาน่าทึ่งเกี่ยวกับเวลาและการบริหารเวลา ที่จะช่วยให้คุณมองเวลาชีวิตที่มีอยู่แค่ราวๆ 4000 พันสัปดาห์เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง และปลดแอกตัวเองจาก คำสาปของยุคโมเดิร์น ที่เรียกร้องให้เรายัดทุกอย่างลงในเวลาที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ ทำทุกอย่างให้เสร็จอย่างดี (getting thing done) หนังสือทำให้เห็นว่า เราถูกตั้งโปรแกรมให้มีความคิดผิดเพี้ยนแค่ไหนเกี่ยวกับเวลา ความจริงด้านเวลาที่จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงคืออะไร พร้อมกับให้เครื่องมือที่ช่วยให้คุณได้สร้างชีวิตที่มีความหมาย ด้วยการยินดีโอบรับขีดจำกัดของชีวิต และเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราทำได้ในฐานะปัจเจก และสังคม หมวดสินค้า : จิตวิทยา การพัฒนาตัวเอง การพัฒนาตัวเอง how to สำนักพิมพ์ : อมรินทร์ How to ผู้แต่ง : Oliver Burkeman #สำนักพิมพ์ อมรินทร์ How to #ผู้แต่ง Oliver Burkeman ,การบริหารเวลา ช้อป นายอินทร์ หนังสือ ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์

หนังสือ 4000 สัปดาห์

(เล่มนี้ทำให้พลอยตกผลึกได้ว่า ทำไมเราถึงได้ใช้ชีวิตแค่วันหยุดฟร้ะ เราควรได้ใช้ชีวิตมากกว่านี้รึเปล่า)

นายอินทร์ หนังสือ สู่จุดสูงสุดของชีวิตด้วย ”พีระมิดสามสุข” | Shopee Thailand
สู่จุดสูงสุดของชีวิตด้วย ”พีระมิดสามสุข” หนังสือเล่มนี้สอนวิธีสร้าง ความสุข ในชีวิตอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่าย โดยอาศัยข้อมูลและหลักฐานล่าสุดทางวิทยาศาสตร์ ผนวกเข้ากับเทคนิคแบบ howto ที่ทำตามได้ตั้งแต่เริ่มลืมตาตื่นจนถึงเข้านอน ในเล่มผู้เขียนแบ่งความสุขในชีวิตคนเราออกเป็น 3 ด้านใหญ่ๆ คือ สุขภาพ ความรัก และความสำเร็จ โดยคนเราจะมีความสุขอย่างแท้จริงได้สมองต้องหลั่ง สารแห่งความสุข 3 ชนิด ได้แก่1. ความสุขแบบออกซิโทซิน (oxytocin) คือความสุขด้านความสัมพันธ์ การเชื่อมต่อกับผู้คน 2. ความสุขแบบเซโรโทนิน (serotonin) คือความสุขด้านสุขภาพ 3. ความสุขแบบโดปามีน (dopamine) คือความสุขเรื่องการเงิน หน้าที่การงาน เกียรติยศ นี่คือลำดับขั้นที่ไม่ควรข้ามหรือสวนทางแล้วคุณจะไม่หลงทางในโลกที่คนมากมายยังดิ้นรนค้นหาชีวิตที่เติมเต็มชิอน คาบาซาวะ จิตแพทย์และนักวิชาการผู้คร่ำหวอดด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience)บอกวิธีบรรลุความสุขและความสำเร็จในชีวิตอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่าย โดยอาศัยการค้นพบล่าสุดทางวิทยาศาสตร์ ผนวกเข้ากับเทคนิคแบบฮาวทูที่ทำตามได้ตั้งแต่เริ่มลืมตาตื่นจนถึงเข้านอนจนคุณพบสมดุลอันยอดเยี่ยมของความสุขทั้ง 3 แบบ ที่จะช่วยปลดปล่อยพลังงานของชีวิตอีกหลายเท่าในทุกๆ ด้าน หมวดสินค้า : จิตวิทยา การพัฒนาตัวเอง การพัฒนาตัวเอง how to สำนักพิมพ์ : อมรินทร์ How to ผู้แต่ง : ชิอน คาบาซาวะ #ทฤษฎีความสุขสามระดับ #ออกซิโทซิน #oxytocin #ความสัมพันธ์ #เซโรโทนิน #serotonin #สุขภาพ #โดปามีน #dopamine #หน้าที่การงาน #ความสำเร็จ #จิตแพทย์ #จุดสูงสุด #การใช้ชีวิต #พีระมิดสามสุข #The Three Happiness #ประสาทวิทยา #Neuroscience ช้อป นายอินทร์ หนังสือ สู่จุดสูงสุดของชีวิตด้วย ”พีระมิดสามสุข”

หนังสือพีระมิดสามสุข

(เล่มนี้ทำให้เข้า science ของความสุขเลย เห็นภาพมากขึ้นว่าจะปรับชีวิตตัวเองยังไงให้ความสำคัญเรื่องอื่นๆที่ไม่ใช่แค่การทำงาน)

Se-ed (ซีเอ็ด) : หนังสือ Designing Your Life คู่มือออกแบบชีวิตด้วย Design Thinking | Shopee Thailand
″ชีวิตที่ดี” เป็นเป้าหมายที่ใครต่อใครใฝ่หา แต่ชีวิตไม่ได้มีสูตรตายตัวเหมือนคณิตศาสตร์ เราต่างเผชิญปัญหาไม่คาดคิด ทางเลือกโหดหิน และความล้มเหลวได้ทุกเมื่อ การฝ่าฟันอุปสรรคในชีวิตไม่อาจพึ่งพาโชคหรือความทุ่มเทเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัย ”สายตา” ที่มองทะลุถึงปัญหาและแก้ไขให้ถูกจุด นี่คือวิธีคิดอย่างนักออกแบบ หรือ “Design Thinking” ”บิล เบอร์เนตต์” และ ”เดฟ อีวานส์” คือนักออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นนำผู้ประยุกต์ใช้ “Design Thinking” เข้ากับการออกแบบชีวิต และเป็นผู้ริเริ่มหลักสูตร “Designing Your Life” ซึ่งกลายเป็นวิชายอดนิยมแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หนังสือเล่มนี้กลั่นกรองประสบการณ์และเคล็ดลับที่ผู้เขียนสั่งสมมาตลอดหลายปี ตั้งแต่วิธีค้นหาปัญหาที่ถูกต้อง การสร้างทีม การออกแบบงานในฝัน ไปจนถึงการสร้างภูมิคุ้มกันความล้มเหลว ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใด ทำอาชีพอะไร กำลังไล่ตามความฝันหรือยังหลงทางไร้จุดหมาย หนังสือเล่มนี้คือเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณ ”ออกแบบชีวิต” ที่ปรารถนา โดยไม่มีคำว่า ”สายเกินไป” ช้อป Se-ed (ซีเอ็ด) : หนังสือ Designing Your Life คู่มือออกแบบชีวิตด้วย Design Thinking

หนังสือ designing your life

(เล่มนี้ทำให้มีกรอบชัดเจนขึ้น ในการมอง next step ของตัวเอง ไม่ให้เคว้งเกินไป)

หลังจากที่ได้ศึกษาอยู่พักใหญ่ๆจากหลายๆคนและหนังสือหลายๆเล่มก็สรุปได้ว่า ต้องทดลอง การที่พลอยจะนั่งจ้องคอมไม่อยากทำงานไปเรื่อยๆ หรือ หนีไปลัลลาตามคนอื่นแบบไม่มีเป้าหมายไปเรื่อยๆ คงจะไม่ได้แก้ไขอะไร

The solution to your problem is not going to be found in the problem.


เฟส 4 ทดลอง

พลอยพบว่า Burnout ของพลอยนั้นมันเกิดจากมีเรื่องบางอย่างที่มากระทบเวลานาน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จนทำให้เกิดการทำงานของฮอโมนที่ผิดปกติ จากการที่มีความเครียดสูงไป ฮอร์โมนความสุขไม่ค่อยหลั่ง และไม่สามารถดึงตัวเองกลับมาได้

สายไม่พึ่งหมอพึ่งยา เลยปฎิญาณว่า "ชั้นจะทำชีวิตให้มีความสุข"

พลอยใช้เวลาเกือบ 6 เดือนในการ โฟกัสแต่ความสุขของตัวเอง และไม่สนใจคนรอบข้างมากเกินไป อยากทำอะไรก็ทำที่ไม่เดือดร้อนใคร

  1. หยุดงานเกือบทุกอย่างที่เคยทำ (ไม่ลงคอนเทนท์เลย) กลายเป็นทำงานแค่ประมาณ 1-2 วันต่อสัปดาห์
  2. กินทุกอย่างที่อยากกิน ไม่กลัวอ้วน ไม่กลัวเปลือง ไม่กลัวท้องเสีย
  3. เที่ยวแหลก ไปคอนเสิร์ท Taylor Swift ที่สคป ไปไต้หวัน ไปญี่ปุ่น ไปจีน ไปจอเจียร์ ไปอาเซอร์ไบจาน เที่ยวเชียงใหม่ นครศรีธรรมราช พัทยา
  4. หาความสงบสุขให้ตัวเองโดยการไปนั่งสมาธิ 10 วัน (โกเอ็นก้า)
  5. ดูแล physical ตัวเองด้วยการออกกำลังกายต่อเนื่อง pilates weight training ไปนวดสปา แช่ออนเซนมันทุกเดือน
  6. ทำกิจกรรมและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่อยากทำ ตั้งแต่เรียนวาดรูป เล่นเทนนิส เรียนร้องเพลง pole dance, ต่อยมวย, ดูดาว, snow board ต้องบอกว่าไปลองอะไรมาหลากหลายมาก
  7. อยู่กับคนที่ทำให้เรามีความสุข ออกไปเจอเพื่อนๆ เอาตัวเองไปอยู่กับกลุ่มคนที่มี energy ดีๆ อยู่ด้วยแล้วสบายใจ

แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปจากการพักในรอบแรก คือไม่ใช่แค่เป็นการพักแบบเต็มสตรีม แต่เป็นการที่พลอย พยายามทำความเข้าใจ ว่าจริงๆแล้วพลอยชอบอะไร อะไรคือสิ่งที่เราอยากทำ และตกผลึกสิ่งที่เรียนรู้จากกิจกรรมใหม่ๆที่พลอยทำ (ไว้จะมาแชร์นะ)

หลังจากที่ทดลองทำอะไรหลายๆอย่าง

เราก็เจอสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เราอยากทำ การเดินทางต่างๆทำให้พลอยเห็นโลกใบนี้เยอะขึ้น ในส่วนที่ไม่ใช่แค่เรื่องงาน


เฟส 5 การกลับมา และ บทสรุป

“อนาคตของเราเป็นความรับผิดชอบของเราคนเดียวเท่านั้น”

หลังจากไปลองทำอะไรอย่างเต็มที่ ความรู้สึกก่อน burnout ก็ค่อยๆกลับมา

เราเร่ิมมีสิ่งที่เราสนใจมากขึ้นเต็มไปหมด เริ่มมีไอเดียที่อยากทำ เริ่มทำการทดลองอะไรเล็กๆของตัวเอง เริ่มกลับมานั่งศึกษาเรื่องจริงจังในสิ่งที่เราอยากจะทำมากขึ้น

ตอบได้เลยว่า energy เรากลับมาเยอะเลย ด้วยความที่เป็นสาย extreme ตอนนี้กำลังคิดอยู่ว่าจะกลับไปเป็นช่วงตอนเราบ้างาน หรือจะบาลานซ์ยังไงดี เพราะก็ยังอยากไป explore โลกอยู่เหมือนกัน

..

สุดท้ายนี้ถ้าใครอยากจะออกจากการ Burnout พลอยแนะนำให้ be scientific กับมันหน่อย ลองพักซักหน่อยและใช้เวลาในการเข้าใจถึงปัญหาที่มา และค่อยๆลอง experiment กับมันไป คนเราต้องพักบ้าง อย่าไปฝืนนนน

ที่มาเล่าเพราะไม่อยากให้ทุกคนรู้สึกว่าเผชิญเรื่องนี้อยู่คนเดียว คน energy เยอะมากๆอย่างพลอยก็ Burnout ได้เช่นกันน

แถมถ้าใครไม่มั่นใจว่าตัวเอง Burnout อยู่รึเปล่าลองเช็คตัวเองดูว่า ตอนนี้เรารู้สึกแบบนี้ไหม?

  1. lack of energy - ไม่ค่อยมีแรง ไม่อยากทำอะไร
  2. lack of empathy - ไม่ค่อยจะแคร์ใคร
  3. lack of fulfillment - ทำอะไรก็ไม่ค่อยรุ้สึกเติมเต็ม มีความสุขไม่สุด

ถ้ารู้สึกแบบนี้อยู่ ตอนนี้น่าจะ Burnout นะ

ปล. จะคอยอัพเดท learning ดีๆ อะไรน่าเก็บไว้ในช่องนี้แหละ subscribe ได้เลยถ้าไม่อยากพลาด